ชื่อเรื่อง : โรงพยาบาลสนาม (ฟาร์มบ้านม่วง) ตำบลตะกุด
รายละเอียด : เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงวันที่ 29 พฤษภาคม 2564 เกิดคลัสเตอร์ใหญ่ในกลุ่มพนักงานของบริษัท CP อำเภอแก่งคอย ซึ่งได้มีการคัดกรองและตรวจค้นหาเชื้อเชิงรุกในพนักงานและประชาชนที่เสี่ยงเป็นจำนวนมาก ทำให้มียอดผู้ป่วยเกิดขึ้นถึง 399 คน ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 จึงทำให้โรงพยาบาลสนามที่มีอยู่ในจังหวัดสระบุรี ไม่พอรองรับกับจำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้น ทางบริษัท CP จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้น เพื่อให้มีจำนวนเตียงเพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยและสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด เพื่อลดอัตราเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้น หรือควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกนอกพื้นที่ ซึ่งโรงพยาบาลสนามดังกล่าว ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลตะกุด อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี (ฟาร์ม CP เก่า) เทศบาลตำบลตะกุด จึงขอแจ้งประชาสัมพันธ์ถึงกรณีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามดังกล่าวขึ้น และทำความเข้าใจกับประชาชน ถึงความสำคัญของการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และกรณีการรับผู้ป่วยเข้าในพื้นที่ ดังนี้ โรงพยาบาลสนามสำคัญอย่างไร 1.หากพื้นที่ใดมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโรงพยาบาลสนาม เพื่อให้มีจำนวนเตียงเพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยและสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้โรงพยาบาลทั่วไปมีเตียงรองรับ ผู้ป่วยประเภทอื่นๆ และหลีกเลี่ยงการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ร่วมกับผู้ป่วยประเภทอื่นๆ เพื่อลดอัตราเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้น หรือควบคุมไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกนอกพื้นที่ 2.หากทำการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลทั่วไป บุคลากรในโรงพยาบาลนั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยโควิด-19 และผู้ป่วยประเภทอื่นๆ ลดลง 3.การจัดพื้นที่ที่มีระบบและมาตรการในการควบคุม เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จะทำให้ดูแลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น เกิดความปลอดภัย และลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชน 4. การมีโรงพยาบาลสนาม จะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง เพราะโรงพยาบาลสนามไม่ได้รับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก แต่จะดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่มาก และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะมีกระบวนการส่งต่อที่รวดเร็ว ซึ่งเป็นกระบวนการที่ปลอดภัย ไม่แพร่กระจายเชื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา ดูแลจากโรงพยาบาลที่มีศักยภาพโดยเร็วที่สุด โดยจะแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งมีการจำแนกดังนี้ กลุ่มสีเขียว - จากการตรวจคัดกรองเชิงรุก Active Case Finding และจากระบบบริการ - ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้นถ่ายเหลว - ส่วนใหญ่ส่งต่อเข้าโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel กลุ่มสีเหลือง (ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล) - ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว - มีความเสี่ยง/มีโรคร่วมที่สำคัญ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ 1. อายุมากกว่า 60 ปี 2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (รวมโรคปอดอื่นๆ) 3. โรคไตเรื้อรัง 4. โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด) 5. โรคหลอดเลือดสมอง 6. เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ 7. ภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรับ 8. ตับแข็ง 9. ภูมิคุ้มกันต่ำ (เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms) กลุ่มสีแดง (ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล) - หอบเหนื่อย หายใจลำบาก X-ray พบปอดอักเสบรุนแรง - มีภาวะปอดปวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง (Exercise - induced Hyoixemia) และโรงพยาบาลสนามที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตะกุด จะรับเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อโควิด19 แต่ผลตรวจเอกซเรย์ไม่มีการติดเชื้อที่ปอดและ ไม่มีอาการรุนแรง จะถูกนำมาพักรักษาที่โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ ดังนั้น ประชาชนทุกท่าน ไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องของการแพร่กระจายเชื้อในพื้นที่ เพราะ ทางโรงพยาบาลสนามฯ มีระบบการจัดการเป็นอย่างดี และมีแพทย์และเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง ประชาชนทุกท่าน เน้นในการดูแลตนเอง หากจำเป็นต้องเดินทางออกนอกบ้าน ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกๆครั้ง พกเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ หรือล้างมือบ่อยๆ เพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคโควิด19 ด้วยความห่วงใยจาก เทศบาลตำบลตะกุด
ชื่อไฟล์ : 0LVZBQtWed21418.jpg file_download ดาว์นโหลดไฟล์นี้
ชื่อไฟล์ : Zgmc9UlWed21425.jpg file_download ดาว์นโหลดไฟล์นี้